คุณรู้จักbloggerได้อย่างไร

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553


เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฏีใหม่ตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางการปฏิบัติทฤษฏีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองในระดับต่างๆ โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆ โดยอาศัยความพอประมาณ และความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ มีความเพียร ความอดทน สติ ปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี เศรษฐกิจพอเพียง มีความหมายอย่างกว้างขวางกว่าทฤษฏีใหม่ โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติ ของทฤษฏีใหม่ในขณะที่แนวพระราชดำริ เกี่ยวกับทฤษฏีใหม่หรือเกษตรทฤษฏีใหม่ ซึงเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม
ทฤษฏีใหม่ตามในแนวพระราชดำริอาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมี 2 แบบ คือ - แบบพื้นฐาน - แบบก้าวหน้า ได้ดังนี้ ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกรเป็นเศรษฐกิจพอเพียง แบบพื้นฐานเทียบได้กับทฤษฏีใหม่ ขั้นที่ 1 แก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำต้องพึ่งฝน และประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอ แม่กระทั่งสำหรับปลูกข้าวและมีข้องสมมุติว่ามีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อ เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่ง และใช้ที่ดินส่วนอื่นๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัวรวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อนมีรายได้ในค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น