คุณรู้จักbloggerได้อย่างไร

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เศษฐกิจพอเพียง หมายถึงอะไร



เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
" เศรษฐกิจพอเพียง " เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ต่อมาภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไข้เพื่อให้รอดพันวิกฤตการณ์ และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงยั่นยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของ ประชาชนทุกระดับ ตั่งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ ก้าวทันโลกยุตโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึง ความประมาณ ความมีเหตุ รวมทั้งความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรแก่การมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกัน ก็จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในประเทศ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และ นักธุรกิจทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และมีความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแล้วกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และ วัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้อย่างดีแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ิการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ี่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้

1. กรอบแนวคิด : เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกในเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

2. คุณลักษณะ : เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัตตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน3. คำนิยาม : ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้- - - - ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ- - - - ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ- - - - การมีภูมิคุมกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งใกล้และไกล

4. เงื่อนไข : การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับความพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ- - - - เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ- - - - เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

5. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ : จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี
การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในงานพัฒนาชุมชน
ความหมายเศรษฐกิจพอเพียงในงานพัฒนาชุมชน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังต่อไปนี้

1. ระดับจิตสำนึก : เกิดขึ้นจากการที่สมาชิกในชุมชนแตุละคนตระหนักถึงความสุขและความพอใจในการใช้ชีวิตอย่างพอดี (ความสันโดษ) และรู้สึกถึงความพอเพียง คือ ดำเนินชีวิต "อย่างสมถะ" ประกอบสัมมาอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้อย่างถูกต้อง ไม่อดอยาก หรือโลภแล้วตักตวง หรือเบียดเบียนผู้อื่นจนเกิดความจำเป็นแต่คิดเผื่อแผ่แบ่งปันไปยังสมาชิกคนอื่น ๆ ในชุมชนด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความพอเพียงของสมาชิกแต่ละคนจะไม่เท่าเทียมกัน แต่สมาชิกทุกคนที่ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเห็นสอดคล้องกันในการยึดมั่นหลักการ 3 ประการ คือ
การใช้ชีวิตบนพื้นฐานของการรู้จัตนเอง รู้จักพัฒนาตนเองด้วยการพยายามทำจิตใจให้ผ่องใสรวมทั้งมีความเจริญและมีความเย็นใจในจิตใจอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง- - - - การคิดพึ่งพาตนเองและพึ่งพาซึ่งกันและกัน ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ คือ เมื่อมีปัญหาจากการดำเนินชีวิต ก็ให้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองหาสาเหตุของปัญหาและแก้ไขไปตามเหตุและปัจจัย ด้วยความสามารถและศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ ก่อนที่คิดพึ่งผู้อื่น และมีการปรึกษาหารือ ถ้อยทีถ้อยอาศัยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน - - - - การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง รู้จักลดกิเลสและความต้องการของตนเองลง เพื่อให้เหลือแรงและเวลาในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากขึ้น

2. ระดับปฏิบัติ : ในการนำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในระดับปฏิบัติ แบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) พึ่งตนเองได้ 2) อยู่ได้อย่างพอเพียง 3) อยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร และ 4) อยู่ดียิ่งขึ้นด้วยการเรียนรู้โดยแต่ละขั้นตอน มีรายละเอียด ดังนี้- - - ขั้นแรก สมาชิกในชุมชนควรยึดหลักของการ "พึ่งตนเอง" คือต้องพยายามพึ่งตนเองให้ได้ในระดับครอบครัวก่อน ให้แต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดีและประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย โดยสมาชิกแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง เช่น รู้ข้อมูลรายรับ - รายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง และสามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตนไม่ให้เป็นหนี้และสมาชิกจะต้องรู้จักดึงศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด โดยเฉพาะควรสามารถพึ่งตนเองได้ในเรื่องของปัจจัยสี่ให้ได้ระดับหนึ่ง- - - ขั้นที่สอง หลังจากที่สมาชิกพึ่งตนเองได้ในด้านปัจจัยสี่ ดังกล่าวข้างต้นได้แล้ว สมาชิกทุกคนควรพัฒนาตนเอง ให้สามารถ "อยู่ได้อย่างพอพียง" คือ ดำเนินชีวิต โดยยึดหลักทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทา ให้ตนเองอยู่ได้อย่างสมดุล คือมีความสุขที่แท้ โดยไม่ให้รู้สึกขาดแคลนจนต้องเบียดเบียนตนเองหรือดำเนินชีวิตอย่างเกินพอดีจนต้องเบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนสิ่งแวดล้อมแต่ให้ดำเนินชีวิตดังที่สมาชิกในภาคเหนือเรียกว่าเป็นการดำเนินชีวิตด้วยการทำเกษตรแบบ "แกงโฮะ" คือ ให้มุ่งทำเกษตรแบบพออยู่พอกินปลูกไว้กินเองก่อน หากเหลือจะขายและขยายพันธ์ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการลงแขก เพื่อเสริมสร้างความสมพันธ์ระหว่างสมาชิกแทนการใช้เครื่องจักรเพื่อทุ่นแรง- - - ขั้นที่สาม สมาชิกในชุมชนควร "อยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร" คือ มีความคิดที่แจกจ่ายแบ่งไปให้ผู้อื่น ซึ่งจะทำให้ได้เพื่อนและเกิดเป็นวัฒนธรรมที่ดี ที่จะช่วยลดความเห็นแก่ตัว และสร้างความพอเพียงให้เกิดขึ้นในจิตใจ เช่น ในการจัดทรัพยากรป่านั้น สมาชิกที่อาศัยอยู่ในบริเวณป่า จะมุ่งเก็บผลผลิตจากป่า เพื่อมาใช้ในการยังชีพให้พออยู่พอกิน พอเหลือจึงค่อยแจกจ่ายออกไปด้วยวิธีให้ ไม่ใช่ด้วยวิธีขาย ซึ่งเมื่อทำได้ดังนี้ก็จะทำให้สมาชิกมีทรัพยากรใช้หมุนเวียนได้ตลอดทั้งปีอย่างพอเพียงเพราะเก็บไปเพื่อกิน ไม่ได้เก็บไปขายเพื่อเร่งหาเงิน ซึ่งการมีจิตใจที่แบ่งปันกันนี้ จะเป็นพื้นฐานทำให้เกิดการรวมกลุ่มทางสังคมสร้างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างสมาชิกต่อไป- - - ขั้นสุดท้าย สมาชิกควร "อยู่ดียิ่งขึ้นด้วยการเรียนรู้" คือ ต้องรู้จักพัฒนาตนเอง โดยการเรียนรู้จากธรรมชาติและประสบการณ์ในโลกกว้างด้วยตนเอง หรือจากการแลกเปลี่ยนร่วมกับผู้อื่น ให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ทุกคนช่วยกันพัฒนาชีวิตของตนเองและผู้อื่นร่วมกัน ็มีการสืบทอดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนาให้เป็นสังคมที่มั่นคงและยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้คุณธรรมและวัฒนธรรมเป็นตัวนำไม่ได้ใช้เงินเป็นตัวตั้ง- - - ในระดับปฏิบัติมีกิจกรรมในชุมชนที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้นำชุมชนได้ทบทวนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำในพื้นที่ของตน โดยเฉพาะกิจกรรมที่เห็นว่าสอดคล้องกับปรัชญาของเศาษฐกิจพอเพียง สามารถจัดประเภทของกิจกรรมเป็น 3 กลุ่มกิจกรรมหลัก ดังนี้- - -

1. กิจกรรมการผลิต โดยเฉพาะในภาคการเกษตรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างคุ้มค่า ด้วยการหมุนเวียนทุนธรรมชาติภายในพื้นที่ และด้วยวิธีการทำเกษตรที่เน้นปลูกเพื่อกินเองก่อนที่ผ่านมาชุมชนได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมปุ๋ยชีวภาพ การปลูกผักและข้าวปลอดสารพิษ การทำสวนสมุนไพรของชุมชน การคิดค้นสารไล่แมลงสมุนไพร การทำถ่านชีวภาพ การรวมกลุ่มขยายพันธ์ปลา การแปรรูปผลผลิตและการทำการเกษตรผสมผสาน เป็นต้น- - -

2. การรวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในชุมชนด้วยทุนทางสังคมที่มีอยู่ ชุมชนได้รวมตัวกันทำกิจกรรมต่อต้านยาเสพติด กิจกรรมการรวมกลุ่มเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านศูนย์การเรียนรู้หรือโรงเรียนเกษตรกรในหมู่บ้าน การจัดตั้งร้านค้าที่เป็นของชุมชนเอง การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ การรวมกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และกิจกรรมการผลิตของกลุ่มต่าง ๆ เช่น การรวมกลุ่มทำขนมของแม่บ้าน หรือการรวมกลุ่มเพื่อปลูกพืชผักสวนครัว นอกจากนี้ ชุมชนยังได้ตั้งกองทุนข้าวสารร่วมกับชุมชนอื่น ๆ ในต่างภูมิภาคเพื่อค้าขายหรือผลิตระหว่างกัน รวมทั้งเพื่อการเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และขยายผลการพัฒนาไปยังเครือข่ายชุมชนอื่น ๆ ด้วย- - -

3. กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จิตสำนึกท้องถิ่น ส่งเสริมวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนได้ริเริ่มกิจกรรมที่มุ่งปลูกฝังจริยธรรมความดีงามและจิตสำนึกรักท้องถิ่นให้เกิดแก่สมาชิกของชุมชน เช่น กิจกรรมที่ปลูกฝังสมาชิกในชุมชน ให้มีความเอื้ออาทรต่อกัน มากกว่าคำนึงถึงตัวเงินหรือวัตถุเป็นพื้นฐานความสัมพันธ์ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้สมาชิกทำบัญชีอย่างโปร่งใสและสุจริต กิจกรรมการพัฒนาครูในชุมชนให้มีคุณภาพ และมีจิตผูกพันกับท้องถิ่นเป็นสำคัญ รวมทั้งกิจกรรมที่ส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนพึ่งตนเอง ก่อนที่จะพึ่งหรือขอความช่วยเหลือจากคนอื่น-

3. ระดับปฏิเวธ (ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ) : ความหมายของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากประสบการณ์ที่แลกเปลี่ยนกันนั้น ครอบคลุมไปถึงการวัดผลจากการปฏิบัติตามหลักข้างต้นด้วย กล่าวคือ สมาชิกในแต่ละชุมชนได้พัฒนาชีวิตของตนเองให้ดีขึ้น โดยเริ่มจากการพัฒนาจิตใจให้เกิดความพอเพียงในทุกระดับของการดำเนินชีวิต ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน และขยายไปถึงระดับสังคม ดังนี้- - -

1) ความพอเพียงในระดับครอบครัว คือ การที่สมาชิกในครอบครัวมีความจำเป็นอยู่ในลักษณะที่พึ่งพาตนเองได้อย่างมีความสุข ทั้งกายและจิตใจ สามารถดำเนินชีวิตได้โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมทั้งไม่เป็นหนี้หรือภาระด้านหนี้สินของตนเองและครอบครัว แต่สามารถหาปัจจัย 4 มาเลี้ยงตนเองได้ โดยที่ยังมีเหลือเป็นส่วนออมของครอบครัวด้วย- - -

2) ความพอเพียงในระดับชุมชน เกิดขึ้นจากการที่สมาชิกจากแต่ละครอบครัวในชุมชนมีความพอเพียงในระดับครอบครัวก่อนที่จะรู้จักการรวมกลุ่มกันเพื่อทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม เช่น บริหารจัดการปัจจัยต่าง ๆ เช่น ทรัพยากร ภูมิปัญญา หรือศักยภาพของสมาชิกในท้องถิ่นที่มีอยู่ ให้สามารถนำไปดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและสมดุล เพื่อให้เกิดความเป็นอยู่ที่พอเพียงของชุมชนโดยรวมในที่สุด- - -

3) ความพอเพียงในระดับสังคม เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของชุมชนหลาย ๆ แห่งที่มีความพอเพียง มาร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ สืบทอดภูมิปัญญาและร่วมกันพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างชุมชน ให้เกิดเป็นสังคมแห่งความพอเพียงในที่สุด